เกี่ยวกับคณะ

ความเป็นมา

ความเป็นมา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ จัดตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 4 (พ.ศ.2520 -2524) และในแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 5 (พ.ศ.2525 -2529) เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ ทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประกาศในราชกิจจานุ เบกษาฉบับพิเศษ หน้าที่ 10 เล่มที่ 105 ตอนที่ 28 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 นับเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในส่วนภูมิภาคที่ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

พรฎ. จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สัญลักษณ์คณะ

สีประจำคณะ :สีน้ำตาล
วันสถาปนาคณะ :วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2531


พันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยม

วิสัยทัศน์ของคณะ คือ Devotion By Design มีจุดเน้น 3 ด้านยุทธศาสตร์  ได้แก่

  1. ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นCultural Impacts สร้างองค์กรสร้าง Cultural assets สร้างจิตนำสึก ตระหนัก รับรู้ในคุณค่าภูมิปัญญา สืบสานต่อยอด
  2. ด้านสังคมและชุมชน Social Impacts  สร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม สร้างความร่วมมือ สร้างการมีส่วนร่วม ใช้โจทย์ ปัญหา จากสถานการณ์จริง แก้ไขปัญหาได้จริง
  3. ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์Economic Impacts ใช้กระบวนการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความเข็มแข็งทางเศษรฐกิจให้กับชุมชน

คณะดำเนินการให้เกิด impact ดังกล่าวตามวิสัยทัศน์ผ่านพันธกิจหลัก 3 ด้านตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558 คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ สำหรับพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ถือเป็นแกนหลักในศาสตร์ของคณะอยู่แล้ว จึงใช้เป็นฐานของพันธกิจทุกๆ ด้านของคณะ ดังรายละเอียดหลักสูตรและบริการที่สำคัญใน

ในการขับเคลื่อนพันธกิจข้างต้นให้บรรลุวิสัยทัศน์ คณะกำหนดค่านิยมองค์กรที่สำคัญได้แก่ Good Governance – ธรรมาภิบาล (สัมมาทิษฐิ ศีลธรรม), Integration – การบูรณาการระบบการทำงาน (ระบบในงาน)     และSystematic – การจัดการระบบงาน (ระบบในคน) เพื่อทำให้มั่นใจว่าการจัดการหลักสูตรและบริการที่จะทำให้เกิด Impact ต่อสาธารณะตามวิสัยทัศน์ Devotion By Design ต้องเป็นไปอย่างมีจริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล มีความเป็นระบบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ และพยายามให้เกิดการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นบูรณาการเพื่อประสิทธิผลสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่คณะมี

 

สมรรถนะหลัก

ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ คณะมีสมรรถนะที่สำคัญได้แก่ 1) คุณวุฒิอาจารย์ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ ประสบการณ์วิชาชีพ 2) ความสามารถในการดำเนินงานเชิงบูรณาการระหว่างการปฏิบัติวิชาชีพกับการเรียนการสอน 3) ความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ที่เป็นโจทย์ในการเรียน การวิจัย และการบริการ 4) การมีเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน 5) บุคลากรและนักศึกษามีความตระหนักต่อคุณค่าด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่นร่วมสมัย
สมรรถนะดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คณะสามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นฐาน การให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคมที่เกิดการใช้ประโยชน์จริง และสามารถดำเนินพันธกิจแต่ละด้านอย่างบูรณาการ ตรงตามเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะและความคาดหวังของผู้รับบริการ

 

หลักสูตรและบริการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหลักสูตรทั้งหมด 8 หลักสูตร ได้แก่

1) ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร 
(1) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
(2) หลักสูตรการออกแบบบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ
2) ระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร
(1) หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
(2) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร
(3) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
(4) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
3) ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร 
(1) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
(2) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวางแผนภาคและเมือง

บริการตามพันธกิจด้านอื่นที่สำคัญ ได้แก่ 1) การวิจัย สร้างผลงานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมตามสาระสำคัญของหลักสูตรทั้ง 3 ด้าน คือ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และการออกแบบ 2) การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 2.1) การให้บริการวิชาชีพด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ การเป็นที่ปรึกษาทางวิชาชีพ และ 2.2) การเผยแพร่องค์ความรู้แก่ชุมชนและสังคม การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบการ ซึ่งบริการข้างต้นมีผลโดยตรงต่อการสร้าง impact ทั้งสามด้านให้เกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรมตามวิสัยทัศน์ Devotion By Design

ลักษณะการดำเนินการที่สำคัญทั้งในส่วนของหลักสูตรและบริการที่คณะผลักดันให้เกิด ได้แก่ การบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ เช่น การนำนักศึกษาเข้าร่วมในการวิจัยภาคสนามให้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในหลักสูตร การนำโครงการบริการวิชาการมาใช้เป็นโจทย์ในวิชาปฏิบัติการออกแบบในแต่ละชั้นปี การนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริการวิชาการ และนำองค์ความรู้ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงมาสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียน

 

 

 

.

ปรับปรุงเมื่อ : พฤศจิกายน 2562