หัวข้อบรรยายเรื่อง "คุณค่าของภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่บรรพบุรุษไทยมอบให้พวกเรา"
โดย รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ บรรยายร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา
รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
           สำเร็จการศึกษา สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (สถาปัตยกรรม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน
          
ในปี พ.ศ. 2507 เริ่มเข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ ที่วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

           วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ขึ้นดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 สังกัดภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
           ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลเกียรติยศระดับชาติ เข้ารับพระราชทานรางวัล “ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นประเภทบุคคลประจำปี 2540” โดยการคัดเลือกของกรมศิลปากร
           ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการคัดเลือกเป็นสถาปนิกดีเด่นในด้าน “สถาปนิกดีเด่นด้านวิชาการ” ประจำปี โดยการคัดเลือกของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ในโอกาสที่สมาคมได้ก่อตั้งมาครบ 70 ปี)

          ปัจจุบันอาจารย์เกษียณอายุราชการและเป็นข้าราชการบำนาญ แต่ด้วยวิญญาณของ “ครู“ ท่านคงรับภาระงานสอนให้แก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ของภาควิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน และภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. นอกจากนี้ท่านยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหรือเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ ให้แก่ สถาบันการศึกษาที่สอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรม ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่ได้รับเชิญเป็นประจำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันอื่นตามแต่โอกาส เช่นที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งท่านเคยรับไปบรรยายพิเศษเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี

ผลงานทางวิชาการ
1.บทความทางวิชาการ เรื่อง “สาระของชนบทในบางมิติ ที่ต้องอาศัยการรู้แจ้งจากประสบการณ์ภาคสนาม” ในหนังสือ “มรดกความงามของสภาพแวดล้อมท้องถิ่นไทย” จัดพิมพ์โดย ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2547
2.บทความทางวิชาการเรื่อง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย ฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมกับการออกแบบปัจจุบันและความหมายของที่อยู่อาศัยตามโลกทัศน์ล้านนาโบราณ” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย” จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543
3.บทความทางวิชาการ เรื่อง “เรือนพักอาศัย รูปแบบสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” ตีพิมพ์ในวารสาร อาษา เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541
4.ค้นคว้าเรื่อง “สถาปัตยกรรมล้านนา” และได้รวบรวมโดยเขียนหนังสือ “สถาปัตยกรรมล้านนา” เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2535
5.การศึกษาการใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเกาะสีชัง อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2534
6.การศึกษาเพื่อจัดทำหุ่นจำลองสภาพการใช้พื้นที่ประวัติศาสตร์ป้อมเพชร ศูนย์ประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2533
7.โครงการวิจัย “รูปแบบเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นของชุมชนไทยเชื้อสายมอญ ย่านคลองมอญ หัวตะเข้ เขตลาดกระบัง” เป็นการออกสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยการออกไปสัมผัสยังสถานที่สำรวจ รวมไปถึงการสัมภาษณ์ และจดบันทึกข้อมูลด้วยภาพวาดลายเส้นทางสถาปัตยกรรม ของชาวมอญที่ตั้งบ้านเรือนบริเวณคลองมอญ คลองประเวศน์บุรีรมย์ตลอดไปจนถึงคลองลำปลาทิว ในปี พ.ศ. 2532
8.เอกสารทางวิชาการ เรื่อง “สังเขปความ การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ในภาคอีสาน (และบางส่วนของลาว) ในเชิงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทางเอกสารและหลักฐาน ถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)” ใช้ประกอบในการสัมมนาเรื่อง “เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอีสาน” จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2530
9.บทความทางวิชาการ เรื่อง “แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” เผยแพร่ในการอบรม “แนวทางการศึกษาและวิจัยทางศิลปกรรมไทย” ของคณะมัณฑนศิลป์ร่วมกับคณะอนุกรรมการการวิชาการโครงการจัดตั้งหอศิลป ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529
10.หนังสือ “สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น” จัดพิมพ์โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2525
11.งานวิจัยเรื่อง “เรือนเครื่องผูกชาวนา (โรงนา) ที่หมู่ 1 ตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร” โดยงานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนด้วยเงินงบประมาณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี พ.ศ. 2524
12.สำรวจค้นคว้าเรื่อง “รูปแบบอาคารที่พักอาศัยพื้นบ้านในชนบทของไทยทุกภาค” พร้อมกับศึกษาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการเรียนการสอนให้อนุชนรุ่นหลังมีความตะหนักถึงมรดกทางวัฒนธรรมไทย อันมีคุณค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้
13.เอกสารคำสอนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม 1 เรื่อง “อียิปต์ เมโสโปเตเมีย กรีก โรมัน คริสเตียนยุคแรก” ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

           นอกจากนี้ อาจารย์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ รอบรู้ในศาสตร์แขนงอื่นอีกด้วย ที่พอกล่าวได้มีดังนี้ เช่น ในด้านศิลปะไทย, วัฒนธรรมประเพณีล้านนา, ประวัติศาสตร์, ชาติพันธุ์วิทยา, คติพื้นบ้าน, ตลอดจนในด้านดนตรีไทย เป็นนักดนตรีไทย (เป่าขลุ่ย) ท่านจึงได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนาหรือเป็นองค์ปาฐกในงานวิชาการระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ
1.เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ ในงานสถาปนิก 50 “International Seminar Architect’ 07: Leap to the Future” หัวข้อบรรยาย “วิถีไทยการดำรงอยู่บางประการผ่านวรรณศิลป์และดุริยางคศิลป์” จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์กลางการประชุมเมืองทองธานี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550
2.เป็นองค์ปาฐกในการสัมมนาทางวิชาการและการจัดแสดงผลงานภาพถ่าย ในหัวข้อโครงการ “มรดกความงามของสภาพแวดล้อมท้องถิ่นไทย” ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. จัดขึ้น เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2547
3.เป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาวิชาการ “สัปดาห์วิชาการครั้งที่ 1” จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2546
4.ร่วมสัมมนาวิชาการ ในงาน สถาปนิก46 เรื่อง “สุนทรียศาสตร์ทางด้านดนตรี” จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์กลางการประชุมเมืองทองธานี ปี พ.ศ. 2546
5.เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ เรื่อง “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย” จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2543
6.เป็นองค์ปาฐกในงานสัมมนาวิชาการ “สาระศาสตร์” จัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2542

ผลงานด้านการออกแบบ
1.ออกแบบอาคารทรงไทย และกลุ่มอาคารเรียนสองชั้น ภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี พ.ศ. 2514-2515

ข้อมูลจากเว็บไซต์ : http://shock-trip.blogspot.com/2010/09/blog-post.html
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา
อาจารย์สอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประวัติโดยย่อ
           สำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สถาปัตยกรรมมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมเขตร้อน) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และได้รับเข้าการฝึกอบรม วุฒิบัตรฝึกอบรมหลักสูตรข้อกำหนดมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารควบคุม เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และวุฒิบัตรการฝึกอบรม กฎหมายอาคารและการก่อสร้าง JICA Japan International Cooperation Agency     
           ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์สอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


หัวข้อบรรยายภายใต้แนวคิด "สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ก้าวย่าง ยั่งยืน"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต
หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab)

ประวัติโดยย่อ
           ผศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา
           ผลงานการออกแบบอาคาร เน้นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ผลงานด้านงานวิจัยมุ่งเน้นการค้นหากระบวนการสร้างนวัตกรรม การออกแบบแบบยั่งยืน และงานวิจัยเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตร จากการก่อสร้าง จากภาคอุตสาหกรรม และจากชุมชน มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
          ดร. สิงห์ ถูกเรียกว่าเป็นนักบุกเบิกด้านการออกแบบที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย นอกจากการสอนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้วยังได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนสาขาการออกแบบให้กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากรพิเศษที่ประเทศเดนมาร์ค ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซียและ ฮ่องกง และเป็นเมธีส่งเสริมนวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
           ดร. สิงห์ ได้รับรางวัล Emerging Designer of the Year จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2550, รางวัล Elle Decor Designer of the Year 2007, รางวัลสุดยอดนักสิ่งแวดล้อม 2551 จากกรุงเทพมหานคร ผลงานของ ดร. สิงห์ ได้รับรางวัล Design Excellence Awards (Demark) จาก กรมส่งเสริมการส่งออก และ Good Design Awards (G-mark) จาก Japan Industrial Design Promotion Organization (JIDPO) ในปี 2009-2010 และ ในปี 2552 CNN ได้เลือกให้เป็น 1 ใน 20 คนไทยที่ต้องจับตามอง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ผู้สนับสนุน
           
Faculty of Architecture Khon Kaen University

ผู้เยี่ยมชม