นักศึกษาสถาปัตย์ฯ 300 คนปลูกป่า ถวายพ่อหลวง-แม่หลวง ลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมชุมชน

นักศึกษาสถาปัตย์ฯ 300 คนปลูกป่าสร้างสำนึกการอนุรักษ์ ถวายพ่อหลวง-แม่หลวง ลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมชุมชนในอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ


เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2553 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 300 คนและบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้เดินทางไปยัง ศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ด้านป่าไม้ที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ อ. อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น เพื่อปลูกป่าและทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนในโครงการ “สถาปัตย์ปลูกป่าช่วยโลก ถวายพระพรแด่พ่อหลวง แม่หลวงของปวงชนชาวไทย  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ครั้งที่ 1โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ชาวบ้านในชุมชนพื้นที่  สมาชิกจากองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขสำราญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนศรีสุขสำราญจำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน

กิจกรรมของโครงการ สถาปัตย์ปลูกป่าช่วยโลกฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 10.00 น. เมื่อคณะเดินทางมาถึงบริเวณพื้นที่โครงการได้มีการจัดเตรียมเต้นท์พิธี การขุดหลุมปลูก การสร้างห้องสุขาชั่วคราว ตลอดจนการขุดไถถนนให้รถยนต์สามารถเข้าไปถึงพื้นที่ได้โดยสะดวก ด้วยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่อุทยานฯและสมาชิกชุมชนในหมู่บ้าน และ นักศึกษาที่ได้เดินทางมาจัดเตรียมพื้นที่ แม้กระนั้นคณะเดินทางยังต้องเดินเท้าอีกกว่า 300 เมตรเนื่องจากมีฝนตกทำให้สถาพถนนเสียหาย เริ่มพิธีการโดยการกล่าวของ นาง มณีรัตน์
วีระกรพานิช หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะผู้แทนจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.  จากนั้นผู้แทนจากอุทยานฯกล่าว และ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขสำราญ กล่าวต้อนรับ พร้อมการมอบโล่ที่ระลึกจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มข. ให้กับอุทยานฯและตัวแทนชุมชน
นาย ธรรมศิษฐ์ ชารู ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ในฐานะผู้แทนของอุทยานฯซึ่งนำคณะมาให้การต้อนรับกล่าวว่า งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรับผิดชอบ ประชาชนในพื้นที่  รวมไปถึงสถานศึกษาซึ่งจะช่วยปลูกฝังค่านิยมความรู้สึกในการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่ การที่มหาวิทยาลัยขอก่นได้นำนักศึกษาออกมาในพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมเช่นนี้เป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง และการได้ลงมือจริง จะช่วยหล่อหลอมทัศนคติที่ดีเหล่านี้ได้
ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ยังได้นำป้ายนิทรรศการเคลื่อนที่ในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร และงานด้านโครงการหญ้าแฝกมาจัดแสดงในบริเวณพื้นที่ปลูกป่าอีกด้วย
นาย เผ่าราช  บุตราช นายกสโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.
ซึ่งได้นำสมาชิกและนักศึกษามาร่วมกิจกรรมกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีในแง่การปลูกฝังความคิดในเรื่องการอนุรักษ์ ซึ่งนักศึกษาทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องได้มาทำกิจกรรมร่วมกันยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ได้เรียนรู้การทำกิจกรรมช่วยเหลือพึ่งพากัน และที่สำคัญคือได้เสียสละเพื่อส่วนรวมเพื่อสังคมอยากให้มีการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่อง
นาย ประวัติ คำอินทร์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขสำราญ กล่าวว่า ผืนป่าเป็นที่หาอาหารของคนชนบท เราพึ่งพาป่าหาเห็ด หาหน่อไม้ สัตว์เล็กๆมาเป็นอาหาร เราก็อยู่ได้ แต่ปัจจุบันป่าเหลือน้อยน่าเป็นห่วงชาวบ้านเองก็เริ่มช่วยกันฟื้นฟู  เห็นเด็กๆรุ่นใหม่สนใจการดูแลทรัพยากรธรรมชาติแบบนี้แล้วรู้สึกดีใจและชื่นชมลูกหลาน
นักเรียน-นักศึกษาทั้ง และผู้ร่วมโครงการได้ร่วมกันนำกล้าไม้ที่ได้จัดเตรียมไว้ส่วนหนึ่งและได้รับการสนับสนุนบริจาคมาจากบุคลากรของ มข.  ส่วนหนึ่งปลูกร่วมกันในพื้นที่ โดยมีการแบ่งกลุ่มและทำกิจกรรมสันทนาการกับนักเรียนไปพร้อมๆกัน ในระหว่านนั้นมีฝนตกเป็นระยะแต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เสร็จสิ้นกิจกรรมจึงได้มีการรับประมานอาหารร่วมกันและเดินทางกลับในเวลา 13.00 น.

อุดมชัย สุพรรณวงศ์/ภาพ-ข่าว