คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวงานบริการวิชาการ

ขอเชิญยื่นข้อเสนอโครงการศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยในพื้นที่เป้าหมายตามแนวการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ด้วยการเคหะแห่งชาติ มีความประสงค์จะจัดจ้างทำโครงการศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยในพื้นที่เป้าหมายตามแนวการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ผู้สนใจสามารถยื่นข้อเสนอได้ที่กองพัสดุและจัดหา ฝ่ายพัสดุและบริการโครงการก่อสร้าง อาคาร 2 ฃั้น 1 สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2381 6754 ภายใน 4 มิถุนายน 2557 ในเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.  สำหรับเอกสารประกอบด้วย 1) ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย หนังสือนำส่งข้อเสนอถึงคณะกรรมการจัดจ้างฯ, สำเนาการจดทะเบีบนจัดตั้งหน่วยงาน, สำเนาคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงาน, หนังสือมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประจำตัว/บัตรข้าราชการของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ, สำเนาหลักฐานการลงทะเบียนเป็นผู้ค้าภาครัฐในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางโดยผู้มีอำนาจลงนามกำกับในข้อเสนอต้นฉบับทุกแผ่นพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) 2) ข้อเสนอด้านเทคนิค จำนวน 15 ชุด  (ต้นฉบับ 1 ขุด สำเนา 14 ชุด)  โดยผู้มีอำนาจลงนามกำกับในข้อเสนอต้นฉบับทุกแผ่นพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) 3) ข้อเสนอด้านราคา จำนวน 7 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา  6 ชุด) โดยผู้มีอำนาจลงนามกำกับในข้อเสนอต้นฉบับทุกแผ่นพร้อมประทับตรา (ถ้ามี)

ดูรายละเอียเพิ่มเติม  เอกสารชุดที่ 1  เอกสารชุดที่ 2

 

สัมมนา เรื่อง “การจัดตั้งหน่วยงานด้านการวางแผนพัฒนาเมือง (ผังเมือง) ขององค์กรปกครองท้องถิ่น”

ด้วยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จะจัดโครงการสัมมนา  เรื่อง  “การจัดตั้งหน่วยงานด้านการวางแผนพัฒนาเมือง  (ผังเมือง)  ขององค์กรปกครองท้องถิ่น”   ประจำปี  2557   ซึ่งเป็นการให้แนวคิด  และแนวทางในการจัดตั้งหน่วยงานการวางแผนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   การสร้างความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้านผังเมือง  หรือการพัฒนาเมืองในบริบทของท้องถิ่น  ตลอดจนข้อเสนอแนะในการแก้ไขอุปสรรค  และปัญหาด้านผังเมือง  หรือการพัฒนาเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งมีกำหนดจัดในวันที่  25  ตุลาคม  2556  ณ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามระเบียบของทางราชการ และไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนการสัมมนาในครั้งนี้

ดาวน์โหลดเอกสาร

หนังสือเชิญเข้าร่วมสัมมนา letter

แบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมน

หนังสืออนุญาตให้เข้าร่วมสัมมนาโดยไม่ถือเป็นวันลา

 

 

สถาปัตย์จัดบรรยายพิเศษ

stock-photo-banana-ornamental-149077313

สำหรับ ตารางของผศ.สมชาย นิลอาธิ ขอปรับเปลียนจากวันที่ 16 ส.ค. มาเป็นวันศุกร์ที่ 9 ส.ค. เวลา 9.00-12.00 น.

ผู้สนใจสามารถเข้าฟังได้ฟรี ไม่มีค่าใ้ช้จ่าย

โครงการอบรมคอมพิวเตอร์ Building Information Modeling (BIM)

        ด้วยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะจัดโครงการอบรมคอมพิวเตอร์ Building Information Modeling (BIM) ด้วยโปรแกรม ARCHICAD 16 ในระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในทุก ๆ ด้านของการออกแบบให้กับนักศึกษา คณาจารย์ สถาปนิก และผู้เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้าง ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โดยสามารถสร้างอาคาร 3 มิติ ในหลากหลายรูปฟอร์มได้โดยง่ายและครบถ้วนทุกองค์ประกอบในอาคาร และสามารถสร้าง Drawing ให้โดยอัตโนมัติ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในสายการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
            ในการนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านโปรดประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรในสังกัดเข้าร่วมการอบรมดังกล่าว โดยมีค่าลงทะเบียนท่านละ 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาท) สนใจสมัครออนไลน์ได้ที่ http://archkku.ac.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 080 3177867 และ081 5929204   ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมที่เป็นข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วสามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมการอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา และเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ตามระเบียบของทางราชการ

ดาวน์โหลดเอกสาร 

 

 

ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบันนำความรู้สู่ชุมชนผ่านกิจกรรมค่ายอาสา

ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบันสถาปัตย์ จัดค่ายอาสาพัฒนาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน ครั้งที่ 15 ณ โรงเรียนบ้านหินโง่น สาขาบ้านสักง่า ต.ศิลา อ.ตกกะทอน จ.เพชรบูรณ์ ระหว่งวันที่ 18 – 27 พฤษภาคม 2556  

ค่ายอาสาพัฒนาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน    เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการในการศึกษารูปแบบ วิถีชีวิต และความเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยนำเอาความรู้ความสามารถที่มีอยู่จากการเรียนรู้ในห้องเรียน และนอกห้องเรียน นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเกิดการเรียนรู้ที่จะทำการเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อสร้างประโยชน์ที่เราสามารถทำกันได้ โดยไม่เกินกำลังและความสามารถที่มีอยู่ บวกกับความยอมรับจากชุมชนที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนและเต็มใจที่จะเปิดรับ    กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนจัดขึ้นมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 15 ณ โรงเรียนบ้านหินโง่น สาขาบ้านสักง่า ต.ศิลา อ.ตกกะทอน จ.เพชรบูรณ์ วันที่ 18 – 27 พฤษภาคม พ.ศ.2556  โดยมี         อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ  เป็นที่ปรึกษาโครงการ

นายสุรชิต ช่างดี ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ได้ร่วมกิจกรรมค่ายอาสาครั้งนี้กล่าวว่า “ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายก็เพราะว่า ได้เห็นถึงการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีความลำบากมากกว่าเรา ซึ่งแต่ละพื้นที่ที่ไปออกค่ายนั้น ความต้องการของชุมชนจะต่างกันไป จึงน่าสนใจที่เราจะเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้จากค่ายบางอย่างไม่มีสอนในวิชาที่คณะ อย่างเช่นการเสียสละให้ผู้อื่นโดยแท้จริง โดยการลงมือทำลงมือสร้าง เอาวิชาที่ตนเองได้เรียนนั้น มาลงมือจริง และได้แลกเปลี่ยนกับชาวบ้านทั้งงานฝีมือและงานออกแบบของช่างชาวบ้านด้วย มีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาให้กับตนเอง แม้ว่าตัวผมเองจะจบไปแล้วแต่ยังมีความผูกพันธ์กับกิจกรรมที่ถือว่ามันดีต่อคณะและต่อน้องๆที่กำลังศึกษา ได้รู้จักว่า การเสียสละให้ผู้อื่นที่ไม่มีโอกาสเท่าตนเองนั้นดีอย่างไร  ในส่วนของผมได้เข้าไปช่วยในการทำอาหาร และช่วยในการก่อสร้างบางส่วน ซึ่งอยากให้น้องๆได้เรียนรู้จากทุกฝ่าย เราได้มีการสลับตำแหน่งให้ในการทำค่ายช่วยกัน ซึ่งทุกคนจะได้เรียนรู้ทุกๆส่วน และยังมีอาจารย์ที่คณะ คอยฝึกสอนให้เรามีความรู้เสริมจากที่เรียนมา และความเป็นกันเองมากขึ้น” 

นอกจากนั้น นายสุรชิต ยังได้ให้ข้อคิดสำหรับน้อง ๆ ที่จะจัดค่ายอาสาครั้งต่อไปด้วยว่า “การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนั้น มันสำคัญทุกๆส่วน ทั้งการพบปะ การรู้จัก การเสียสละ แต่การจะได้มาทุกอย่างเราต้องมีความอดทนและต้องสนุกกับมัน เราเรียนอย่างเดียวเราก็ได้แค่ด้านเดียว แต่เมื่อเราได้เข้ามาที่จุด ๆ นึงซึ่งเป็นนักศึกษาแล้วนั้น เราน่าจะทำตนเองให้มีประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งผลที่ตามมานั้น มันคือความภูมิใจของเราเอง ครับผม

โครงการค่ายฯ จัดขึ้นเพื่อนำผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำกิจกรรมละครเวทีที่ผ่านมา ไปทำตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ว่าจะนำสิ่งที่ได้รับมา นำไปทำประโยชน์คืนสู่สังคม ตามกำลังและความสามารถที่ตัวนักศึกษามี  และนศ.ได้มีโอกาสและประสบการณ์ โดยลงพื้นที่และเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน  เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษา  เพิ่มศักยภาพของหมู่บ้านให้มีการพัฒนาขึ้นโดยการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่เรียนรู้ สำหรับเยาวชนในหมู่บ้าน  มีแหล่งการเรียนรู้ที่เกิดจาก ความร่วมมือของนักศึกษาและชาวบ้าน    นำความรู้ที่ได้มาจากภายในห้องเรียนมาบูรณาการกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น โดยได้จากการออกแบบพื้นที่การปรับปรุง การได้ความรู้ความสามารถที่ได้เรียนมา นำมาสร้างสรรค์ผลงานได้จริง สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นักศึกษาจะได้ทำการออกแบบและสร้างสนามเด็กเล่น  ช่วยงานก่อสร้างศาลาวัดใหม่ของหมู่บ้าน โดยไม่มีการออกแบบหรือแทรกแซงแบบเดิมของชาวบ้าน  ทำการทาสีห้องน้ำด้านหลังอาคารเรียนใหม่

 

 

พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว

อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ ภาพ

สถาปัตย์ร่วมเสนอผลงานออกแบบบ้านโซล่าเซลล์ 30 เม.ย.- 5 พ.ค. 56

คณาจารย์และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอาคารมหาบัณฑิต  1 ใน 12 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศร่วมนำเสนอผลงานการออกแบบ ในนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมบ้าน Solar cell ในงานสถาปนิก 56 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2556

นายพรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา ประธานหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีอาคารมหาบัณฑิต อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ได้เล่าถึงรายละเอียดโครงการว่า “บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด ได้เชิญทางคณะให้ร่วมนำผลงานไปจัดแสดงและร่วมนำเสนอผลงาน โดยมีผู้แทนนักศึกษาในโครงการที่มีทั้งหมด 12 มหาวิทยาลัย ได้ขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบบ้านโซล่าเซลล์  ณ ลานกิจกรรม ชาเลนเจอร์ ฮอลล์  โดยประเด็นที่จะแลกเปลี่ยนนั้นมี 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ มุมมองด้านการออกแบบว่าแตกต่าง มีความยากง่ายในการออกแบบเทียบกับงานที่ทำทั่วไป   และประเด็นในหลักคิดที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย การใช้งาน การนำโซล่าร์เซลล์มาใช้ การออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน ความคุ้มค่า  การจัดงานครั้งนี้ มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมโครงการ 5 คน คือ นายอภิรักษ์ งามนิวัฒนวงศ์ นายสันติภาพ เพียนอก นายธน สปัด นายฤทธิชัย ศรีจวน นายพงษ์ศักดิ์ จงหมายงาม”

 

พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว

อ.พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา เอื้อเฟื้อภาพ

 

 

การประชุมมหานครวิชาการด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ครั้งที่ 6

เรียนอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา

การประชุมมหานครวิชาการด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ครั้งที่ 6

(The 6th Mahanakorn National Conference on Education Research and Technology)

“Education and Technology Management for AEC”

17 พฤษภาคม 2556

ณ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

       เป็นการประชุมประจำปีที่ถูกจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีความมุ่งหวังที่จะเป็นแหล่งชุมนุมของนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งผู้ที่สนใจทางด้านวิทยาการด้านการศึกษา โดยแก่นเรื่อง (Theme) ของการประชุมวิชาการในปีนี้คือ การจัดการการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (Education and Technology Management for AEC)

โดยมีแนวคิดที่จะกระตุ้นและสร้างความตระหนักถึงการพัฒนาและการจัดการด้านการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558

หัวข้องานวิจัย

  • Business Education
  • Course Management
  • Curriculum, Research and Development
  • Learning / Teaching Methodologies and Assessment
  • Global Issues In Education and Research
  • Pedagogy
  • Research Management
  • Ubiquitous Learning
  • Research In Progress
  • Other Areas of Education
กำหนดการส่งบทความวิจัย

  • ส่งบทความวิจัยฉบับเต็ม (Full Paper) :15 มีนาคม 2556
  • แจ้งผลการตอบรับบทความวิจัย : 19 เมษายน 2556
  • ส่งบทความพร้อมตีพิมพ์และลงทะเบียนล่วงหน้า: 3 พฤษภาคม 2556
ติดต่อประสานงาน

ผศ.ดร.ศุภกร  กังพิศดาร

อาจารย์สายันห์ ริ้วทอง

e-mail : mutcon2013@mut.ac.th

website : http://www.mutcon2013.mut.ac.th

เบอร์โทร : 02-9883655 ต่อ 4111(ผศ.ดร.ศุภกร), 1111(อาจารย์สายันห์)

เบอร์ Fax : 02-988-4027

 

ทางคณะกรรมการผู้จัดงานหวังไว้เป็นอย่างยิ่ง จะได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา ในหน่วยงานของท่าน เป็นอย่างดี

ขอเชิญส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะสถาปัตย์ มช.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ขอเชิญผู้สนใจส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ : การออกแบบสภาพวแดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Journal of Environmental Design, Faculty of Architecture, Chang Mai Univesity (JEDe)) ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ E-journal Web Site ของคณะ

 

11-13 มีค 2556 สถาปัตย์ มข. จัดนิทรรศการวิทยานิพนธ์นศ.ID ปี 4 ชั้น 1 ห้างเซ็นทรัลขอนแก่น

          สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีกำหนดจัดแสดงนิทรรศการผลงานโครงการออกแบบทางอุตสาหกรรม  ของนักศึกษาชั้นปีที่  4  สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ณ  ห้างสรรพสินค้า Central plaza ขอนแก่น  ชั้น  1  ในระหว่างวันที่  11-13 มีนาคม  2556
         จากการที่สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตอย่างมีคุณภาพโดยการออกแบบ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากรากฐานโดยรวม ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเหตุผล ด้วยความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมตามความถนัดในแต่ละสาขาที่ทางคณะฯได้จัดให้มีการเรียนการสอน รวมทั้งการส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญในด้านการออกแบบอุตสาหกรรมและการจัดการธุรกิจเพื่อสนองความต้องการของประเทศให้ทันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ    ซึ่งนิทรรศการในครั้งมีการนำเสนอผลงานการออกแบบที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาศึกษาที่คณะอยู่ ทั้งสิ้น 71 ผลงาน จาก 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา  มัลติมีเดียและแอนนิเมชัน  การออกแบบเครื่องเรือน  วิชาสิ่งทอ  เรขานิเทศและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกแบบนวัตกรรม
        สำหรับกิจกรรมในงานประกอบด้วย การ Workshop  การแนะนำผลงานของนักศึกษา การแสดงแฟชั่นโชว์ (วันที่ 11 มีนาคม 2556 เวลาประมาณ 16.00 น) การแสดงสันทนาการหน้าม่านละครเวทีสถาปัตย์  การบรรยายพิเศษ “พูดคุยประสา ID”  โครงการนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตร เป็นการประเมินผลงานของนักศึกษาจากความรู่ที่ได้ศึกษามา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกัน ส่งเสริมการวางแผนแนวทางการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และใช้เวลาว่างได้อย่างเป็นประโยชน์      ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
 
พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว/ภาพ 

สถาปัตย์จัดค่าย Vernodoc สร้างแรงบันดาลใจสู่การอนุรักษ์ปีที่ 3

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ Vernadoc หรือ “การสำรวจรังวัดมรดกทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ปีที่ 3 ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น   ณ วัดโพธิ์ชัย และวัดศรีโพธิ์ชัย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556
อ.อธิป อุทัยวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการ Vernadoc ได้เล่าถึงที่มาโครงการนี้ว่า “วัดโพธิ์ชัย และวัดศรีโพธิ์ชัย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชุมชน  เป็นมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นอาคารสาธารณะ โดยเฉพาะสิมของทั้งสองวัด และหอไตรของวัดศรีโพธิ์ชัย ซึ่งมีอายุกว่าร้อยปี  แต่ในปัจจุบันยังขาดความสนใจ และการตระหนักรู้ถึงความสำคัญจากผู้คนในท้องถิ่น ที่สำคัญคือไม่ได้รับการทำนุบำรุงที่เหมาะสมตามหลักการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโบราณ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความมุ่งหมายในการบูรณาการองค์ความรู้จากการเรียนการสอน เข้ากับการบริการด้านวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษา ซึ่งมีนักศึกษาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร และชุมชนที่มีประชาชนเป็นเจ้าของ จึงได้จัดโครงการ “การสำรวจรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วัดโพธิ์ชัย และวัดศรีโพธิ์ชัย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย”
สำหรับการดำเนินการนั้นได้แบ่งเป็นช่วง ๆ  โดยครั้งแรก เป็นการบรรยายให้ความรู้เทคนิคสำหรับการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ด้วยวิธีที่เรียกว่า Vernadoc หรือ Vernacular Documentation Camp โดย ผศ.สุดจิต สนั่นไหว ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำโครงการ Vernadoc จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556  จากนั้น ช่วงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556 เป็นช่วงลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน  เช่น ประวัติศาสตร์ ข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ รูปแบบการอยู่อาศัยในปัจจุบันที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของมรดกสถาปัตยกรรม เป็นต้น รวมถึงการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  การฝึกปฏิบัติการโดยการรังวัดและบันทึกอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ซึ่งวิธีการนั้นก็คือการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม โดยกิจกรรมนี้ได้บูรณาการกับการเรียนการสอนในวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของนักศึกษาปริญญาตรี และวิชาการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของนักศึกษาปริญญาโท   หลังจากนั้น จะมีการจัดนิทรรศการแสดงข้อมูลและเพื่อให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์อาคารที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม พร้อมปลุกจิตสำนึกในการรักและเห็นคุณค่าของอาคารให้กับสาธารณะชนได้รับทราบในภายหลัง
โครงการ Vernadoc หรือ Vernacular Documentation Camp เป็นโครงการที่ทางคณะได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เป็นปีที่  3 ด้วยความมุ่งมั่นของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข. ในการส่งเสริมการบูรณาการความรู้ และทักษะจากห้องเรียนสู่การปฏิบัติการจริงในพื้นที่ชุมชน โดยใช้เทคนิคสำหรับการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่   ซึ่งจะเน้นการเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่ด้วยเทคนิคพื้นฐาน แต่ได้คุณภาพของผลงานในระดับสูง โดยคาดหวังว่านวัตกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่ครั้งนี้ นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะในการเก็บข้อมูลและแสดงแบบทางสถาปัตยกรรม เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคี รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการจะเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าของอาคาร หรือคนในชุมชนเห็นคุณค่า เช่นเดียวกับที่บุคคลจากภายนอกเห็น และร่วมใจกันอนุรักษ์อาคารเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไป และเป็นการสร้างฐานข้อมูลเบื้องต้นทางมรดกสถาปัตยกรรมให้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการวางแผนอนุรักษ์อาคารชุมชนต่อไป
 
พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว
Soft | Photography เอื้อเฟื้อภาพ