คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวงานบริการวิชาการ

สถาปัตย์จัดประชุมวิชาการฉลอง 50 ปี แห่งการสถาปนา มข. และ25 ปี คณะฯ

       คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานประชุมทางวิชาการและนิทรรศการแสดงผลงาน 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น และครบรอบ 25 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 25 -27 มกราคม 2556

        งานประชุมทางวิชาการและนิทรรศการแสดงผลงาน 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น  และครบรอบ 25 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   มีแนวคิดหลักของการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้คือ ‘สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ก้าวย่าง ยั่งยืน’ การจัดงานครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น 3 วัน   โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ประมาณ 500 คน  ในการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ ทางผู้จัดได้กำหนดให้มีการประชุมวิชาการ และการนำเสนอผลงานทางการวิจัย การออกแบบ หรือบทความ  และการปาฐกถาพิเศษ ซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ อินทรชูโต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นองค์ปาฐกถา ในวันที่ 25 มกราคม 2556 นอกจากนั้นในระหว่างวันที่ 25 – 27 มกราคม 2556 ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า  การขายสินค้าทำมือและดนตรีในช่วงเย็นของทุกวัน รวมทั้งกิจกรรม workshop ให้กับนักเรียนและเยาวชนที่สนใจที่จะเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและเกี่ยวข้องด้วย  
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มนสิชา เพชรานนท์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดงานครั้งนี้ว่า “องค์ความรู้ทางการการออกแบบที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมได้อย่างเป็นปรกติสุข สั่งสมเป็นภูมิปัญญาหลากหลายแขนงความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า หรือแม้แต่สภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัว เตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว งานวิจัยและการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมสรรสร้าง จึงมีเป้าหมายหรือกรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมโดยรวมเป็นสำคัญ การจัดงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานในปีนี้จึงกำหนดขึ้นภายใต้ชื่อ “สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ก้าวย่าง ยั่นยืน”
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิขิต อมาตยคง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ประธานในพิธีเปิดได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่นเราได้ก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยแห่งชาติ  บนพื้นฐานของความรับผิดชอบในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยเน้นความรับผิดชอบการเป็นศูนย์รวมทางความคิดและสติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินงานตามภารกิจในด้านต่าง  ๆ ทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  พร้อมทั้งได้รับเข้าสู่ระบบการประเมินโดยองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและหน่วยงานอิสระจากภายนอก    

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหนึ่งในหลายคณะวิชาที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยผลงานที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน และประเทศชาติ โดยที่ผลงานของนักศึกษา ศิษย์เก่า  อาจารย์  ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง  จึงเชื่อมั่นได้ว่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จะเป็นคณะวิชาหนึ่งที่สามารถสนับสนุนฐานรากในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถสนองตอบความต้องการและความคาดหวังของสังคม ที่เพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญาและคุณค่าทางวิชาการ ในสังคมไทยและสังคมโลกได้”  

 

นิชลีย์ วุฒิสิทธิ์ ภาพ

สถาปัตย์ มข.จับมือ อบจ.ขอนแก่นทำโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และสำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการด้วยแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล” ในระหว่างวันที่ 8-9 และ 15-16  มกราคม 2556 ณ พื้นที่เป้าหมายในจังหวัดขอนแก่น และหอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 

          ในปัจจุบันทุกภาคส่วนต่างตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นจริงในสังคม แต่สำหรับงานด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ ยังไม่ได้คำนึงถึงกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างครบถ้วน ในการออกแบบก่อสร้างอาคารต่าง ๆ มักจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการหรือผู้สูงอายุ แม้ว่าจะมีการออกกฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ ปัญหาประการหนึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจและขาดประสบการณ์ในการออกแบบอาคารให้เหมาะสมต่อคนทุกกลุ่มและทุกวัย ส่งผลให้คนเหล่านี้ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่มีฐานะยากจนจะประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีความสามารถแม้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของตนเองให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต
          องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการแก้ปัญหาความเท่าเทียมกันเหล่านี้ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและสัมมนา “การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการด้วยแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล” การออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับคนทั้งมวล  (Universal Design) เป็นแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความทัดเทียมกันในด้านการใช้งานอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนทุกกลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยจะดำเนินการอบรมให้ความรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวลให้กับบุคลากรของอบจ. ขอนแก่น ด้วยรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติงานจริง ในการเข้าปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการที่ด้อยโอกาส ให้มีความเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
 
          ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว อบจ.ขอนแก่น จึงได้ประสานข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ขอนแก่น และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข. เพื่อเตรียมเนื้อหาในการอบรม จากนั้นในระหว่างวันที่ 8-9 มกราคม 2556 ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจบ้านคนพิการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 หลัง  เพื่อจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอาคาร ความเป็นอยู่อาศัย  กิจวัตรประจำวัน รวมทั้งสัมภาษณ์เจ้าของบ้านและคนพิการ เพื่อเป็นข้อมูลในการอบรมเชิงปฏิบัติการ  และดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการด้วยแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล เป็นเวลา 2 วัน คือระหว่างวันที่ 15-16 มกราคม 2556 ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  ซึ่งการอบรมดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ การแบ่งกลุ่มศึกษาวิเคราะห์และระดมความคิดในการออกแบบและวางแผนปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันของคนพิการที่เป็นกรณีศึกษา 
           ผศ.เขมโชต ภู่ประเสริฐ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เข้าร่วมทีมกล่าวว่า “โครงการนี้เป็นโครงการดีดีจาก อบจ.ขอนแก่น ที่มุ่งช่วยแก้ปัญหาบ้านผู้ทุพพลภาพในจ.ขอนแก่น โดยอบต.ทีเข้าร่วมโครงการได้เลือกบ้านที่มีความทุกข์ร้อน 8 หลัง เพื่อมาเข้าร่วมโครงการ และนักศึกษาสถ.มข. 4 คนได้แก่ นส.วิชุตา พูนเกษตรวัฒนา นส.ขนิษฐา หอมทอง นส.ณภัทร จั่นสังข์ และนายพีรพล พิลาศรี ได้มีโอกาสใช้ความสามารถในการรังวัด เก็บข้อมูลสัมภาษณ์ รวมทั้งช่วยดำเนินในการ workshop ทั้งนี้ ผลการออกแบบที่ได้จะถูกนำไปใช้ปรับปรุงจริงในบ้านผู้ทุพพลภาพทั้ง 8 หลังด้วย”
          หลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้แล้วคณะผู้จัดโครงการมีความคาดหวังว่าบุคลากรของอบจ.ขอนแก่น และผู้เกี่ยวข้อง จะมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์ในการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการด้วยแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล คนพิการด้อยโอกาสได้รับการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความเสมอภาคในสังคม และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นได้อีกด้วย
 
พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว
ผศ.เขมโชต ภู่ประเสริฐ ภาพ

สถาปัตย์จัดโครงการ “ภาพเล่าเรื่องเมืองเสียงแคน”

การฝึกทักษะวาดภาพลายเส้นทางสถาปัตยกรรมและการวาดสีน้ำเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ใช้ในการนำเสนองานในการเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การฝึกทักษะในด้านนี้เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากในปัจจุบันการเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีเทคนิคและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการนำเสนอ ทั้งรวดเร็วและประหยัดเวลา  ทำให้การนำเสนอในรูปแบบของลายเส้นไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องที่สำคัญในการนำมาใช้ในงานออกแบบของนักศึกษา หรือเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องศิลปะเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม โดยถ่ายทอดผ่านอาจารย์ หรือรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง และอาจจะเป็นเทคนิคใหม่ๆที่จะได้นอกเหนือจากห้องเรียน

 

จากความสำคัญดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์โดย อาจารย์รุ่งจิต  จารุพงษ์ทวิช และผู้ช่วยศาสตราจารย์พรณรงค์  ชาญนุวงศ์ ได้ร่วมกับนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งจัดโครงการ “ภาพเล่าเรื่องเมืองเสียงแคน” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรรม อาจารย์-นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ บุคคลภายนอกที่มีความสนใจ ที่มีฝีมือการวาดภาพลายเส้นและสีน้ำได้เป็นอย่างดี ได้ฝึกพัฒนาและซึมซับสภาพแวดล้อม สถาปัตยกรรมภายในเมือง และความเป็นอยู่ของผู้คน ให้มีความเข้าใจและถ่ายทอดออกมาในลักษณะของลายเส้นและการวาดสีน้ำ รวบรวมผลงานที่ได้  คัดเลือกและนำมาจัดนิทรรศการในแต่ละเดือน

 

สำหรับกำหนดการจัดงาน ครั้งแรกได้จัดไปแล้ว  เมื่อวันที่ 13  มกราคม 2556 โดยใช้สถานที่ศาลหลักเมืองขอนแก่น และบ้านพักพนักงานรถไฟ เป็นสถานที่ในการฝึกปฏิบัติการ ส่วนครั้งที่สองที่จะมีขึ้นอีกครั้ง กำหนดจัดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556  และกำหนดใช้พื้นที่บริเวณบึงแก่นนครเป็นสถานที่ในการฝึกปฏิบัติการ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณทัศนวรรณ หมายเลข  0 4336 2046

 

 

ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ เอื้อเฟื้อภาพ

สถาปัตย์ผู้สนใจร่วมโครงการออกแบบบ้าน “บ้านในฝัน”

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญผู้สนใจที่จะมีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเอง  เข้าร่วมโครงการออกแบบอาคารพักอาศัย “บ้านในฝัน” โครงการออกแบบบ้านตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

อาจารย์นรากร พุทธโฆษ์ ผู้ดูแลโครงการเปิดเผยว่า “โครงการออกแบบอาคารพักอาศัย “บ้านในฝัน” เป็นส่วนหนึ่งของ ในรายวิชา 802 426  Architectural Design for Building Construction II  สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการออกแบบจริงร่วมกับเจ้าของบ้าน  ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม  ทั้งนี้กำหนดขอบเขตเป็นบ้านพักอาศัยมีพื้นที่ใช้สอยโดยประมาณ  150 ตารางเมตรขึ้นไป  บนเนื้อที่ประมาณ 1 งาน ขึ้นไป  ท่านที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ถึงวันศุกร์ที่ 14  ธันวาคม  2555 โดยเราจำกัดเพียง 23 หลังเท่านั้น  ซึ่งทางคณะฯ จะได้พิจารณาคัดเลือกผู้สนใจที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโครงการและทำการนัดหมายท่านกับนักศึกษาผู้รับการฝึกปฏิบัติการออกแบบจริง ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวข้างต้นไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”

ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสามารถดาวน์โหลดเอกสาร และส่งไปยังอาจารย์ นรากร พุทธโฆษ์ (ผู้ดูแลโครงการ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    เลขที่ 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรสาร 0 4336 2047    หรือ  narput@kku.ac.th โทรศัพท์ติดต่อ (087) 2178631

Thailand Web Statเอกสารดาวน์โหลด House 2555

อาจารย์ มข.วิจัยบังกะโลต้นแบบหนุนท่องเที่ยว “จิบูติ” แก้ปัญหาความยากจน

จากสภาพปัญหาความยากจนและภาวะว่างงานในสาธารณรัฐของจิบูตี ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ของแอฟริกาตะวันออก  ที่มีทรัพยากรทางวัฒนธรรม และธรรมชาติที่สามารถช่วยการพัฒนาประเทศได้ โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สำคัญสู่ระดับนานาชาติ  นักวิชาการไทยสองท่าน ได้แก่ ผศ.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอาจารย์จตุราพร สีหาบุตร อาจารย์ประจำจากวิทยาเขตหนองคาย  จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยเพื่อออกแบบก่อสร้าง Eco-Bungalow model  ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้วัสดุท้องถิ่น ผสมผสานกับวัสดุที่ทันสมัยเป็นพลังงานทดแทน ทั้งเป็นประโยชน์ในด้านการลดของต้นทุนการก่อสร้างและการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม

       ผศ.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการนี้ว่า “ได้เข้าร่วมทำงานกับโครงการของ Acting for Life, TED Program ตั้งแต่ปี 2007 โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักศึกษาฝึกงานกับ Professor François Vellas อาจารย์ที่ปรึกษา  ซึ่งเป็นไดเร็กเตอร์ของ TED Program โดยได้ร่วมทำโครงการหลากหลายโครงการ เช่น โครงการ An awareness -raising Booklet on Sustainable Tourism and Environmental protection for Operators and Local Communities : Thailand, Sri Lanka, Indonesia, (2007-2009), Upgrading Handicraft product, Sri Lanka (2009-2011) จนมาถึงการเป็นนักวิจัยหลักของโครงการ Eco-bungalow Model โดยมีอาจารย์จตุราพร สีหาบุตร จากวิทยาเขตหนองคายร่วมในทุกโครงการด้วย

ในการดำเนินงานได้มีการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติประเทศจิบูตี โดยการนำเสนอการออกแบบของโครงการ แล้วจึงได้ทำการออกสำรวจพื้นที่ในการก่อสร้างที่เตรียมไว้ ก่อนที่จะทำการออกแบบของอาคารต้นแบบ และพัฒนาเกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยว โดยนำเสนอแบบ พร้อมราคาวัสดุ และการลดต้นทุนการก่อสร้าง จัดสัมมนาย่อยร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของท้องถิ่น จากนั้นทีมงานจะทำการพัฒนาองค์ประกอบของโครงการที่มีกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของท้องถิ่นร่วมคิดร่วมทำ โครงการได้เตรียมตัวเลือกทางด้านเทคนิคของอาคารต้นแบบ และสุดท้ายคือการ ก่อสร้างบังกะโลต้นแบบ โดยครั้งนี้ ได้เลือกสถานที่ก่อสร้างบนเกาะ Moucha ซึ่งสะดวกในการดูแลรักษาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ การก่อสร้างถูกกำหนดเวลาประมาณ 20 วัน

โครงการได้สร้างองค์ประกอบของการออกแบบอาคารที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวโดยการสนับสนุนของชุมชนท้องถิ่น เป็นการดำเนินการตามกลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับความยากจน ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค และฝึกอบรมการให้บริการเพื่อเป็นสถานบริการด้านการท่องท่องที่ดี ตามแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผศ.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ กล่าว

โครงการ Acting for Life, TED Program นี้เป็นความร่วมมือที่แท้จริงระหว่างเอ็นจีโอนานาชาติ (Acting for Life) และหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและที่พักสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดยการช่วยเหลือทางเทคนิค และทางการเงิน ในปัจจุบัน ONTD,

ด้าน Mr. Mohamed WAIS, director of ONTD เผยว่าจะมีการสร้างบังกะโลมากกว่า 80 หลังที่มีความน่าสนใจจากผู้ประกอบการขนาดเล็กของแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนของสำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจิบูตี (Fond de Développement Economique de Djibouti) ด้วยอัตราดอกเบี้ย 2 เปอร์เซ็นต์

โครงการวิจัย Eco-Bungalow model เป็นหนึ่งโครงการของ หน่วยงาน International NGO, Acting for Life, TED Program (Tourism, Ethics and Development) โดยเป็นความร่วมมือกับ สำนักงานการท่องเที่ยว ประเทศสาธารณรัฐ Djibouti ภายใต้ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุน จำนวน 17,000 ยูโร (714,000 บาท) เป็นค่าก่อสร้างอาคารต้นแบบหนึ่งหลัง จำนวน 5,000 ยูโร (210,000 บาท)

หลังเสร็จสิ้นโครงการนี้แล้ว Eco-Bungalow model ยังถูกนำเสนอเพื่อให้สามารถเข้าถึงการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็ก โดยไม่ได้เป็นคำตอบของทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างทางธุรกิจที่ดีที่ยั่งยืน อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้และสร้างจากทรัพยากรทางสังคมและทางธรรมชาติของท้องถิ่นเอง โครงการนี้ยังจะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถสร้างตลาดของลูกค้าที่เหมาะสมและเข้าถึงเซ็กเมนต์ของตลาดใหม่ๆ ได้

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุม และ/หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุม และ/หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในการประชุมและนำเสนอผลงานทางวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 25 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ “สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ก้าวย่าง ยั่งยืน”  ในระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2556  ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะครบรอบวาระ 50 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยในปีพุทธศักราช 2557 ประกอบกับการที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จะครบรอบวาระ 25 ปีแห่งการก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปีพุทธศักราช 2556 ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐที่มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ พร้อมทำงาน และมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายสาขา จึงนับเป็นโอกาสอันดีในการจัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานทางด้านการวิจัยและการออกแบบ เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ต่อยอดองค์ความรู้ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระสำคัญดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2556 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีแนวคิดหลักของการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้คือ‘สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา ก้าวย่าง ยั่งยืน 

 

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม และ/หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการมีกำหนดการดังนี้

15 พฤษจิกายน 2555          วันสุดท้ายของการส่งบทความและ/หรือโปสเตอร์

31 ธันวาคม 2555               วันสุดท้ายของการสมัครเข้าร่วมการประชุม

ดูรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม พร้อม Dowload แบบฟอร์มการลงทะเบียนการเข้าร่วมการประชุม และ/หรือการนำเสนอบทความทางวิชาการได้ที่ http://arch.kku.ac.th/Openhous2013

 

พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์  ภาพ/ข่าว

อจ.สถาปัตย์เจ้าของรางวัลไทยสร้างสรรค์จัดเวิร์คชอปหนุนภูมิปัญญาไทย

อ.ฐิติพร ฌานวังศะ อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงอีก 4 ท่าน ร่วมจัด  เวิร์คชอป โปรเจค SAPP…P แซ่บเว่อ “คิดต่างสร้างเงิน คิดเพลินเพลินได้งาน” ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ในระหว่างวันที่ 2-3 ตุลาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 10.30-17.30 น. ห้องประชุม 501 ชั้น 5  หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน

สำหรับการรวมตัวครั้งสำคัญของ 5 นักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงของเมืองไทย นำโดย

– เจ้าของรางวัลไทยสร้างสรรค์ปี 2553 อาจารย์พีท-ฐิติพร ฌานวังศะ แห่งพีคฌาน
– เจ้าของรางวัลไทยสร้างสรรค์ปี 2554 คุณศรัณย์ อยู่คงดี จากผลิตภัณฑ์ Sarran
– คุณภรฏา ศรีอ่อนหล้า เจ้าของผลิตภัณฑ์ Pharata
– คุณอริสรา แดงประไพ เจ้าของผลิตภัณฑ์ Arisara
– คุณพรรณอนงค์ สิทธิ์สมจินต์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ nov.05
โอกาสเดียวที่จะได้เรียนรู้กับ ‘ตัวจริง’ ในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นไทย ภูมิปัญญาและเทคนิคการสร้างสรรค์แบบ ‘ไทยสร้างสรรค์’
พร้อมกับได้เรียนรู้ 10 เคล็ดลับการสร้างผลิตภัณฑ์/บริการงานฝีมือและหัตถกรรมไทย
และได้ฝึกปฏิบัติกับการสร้างสรรค์และพัฒนางานออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการสีเขียว เช่น เครื่องประดับ แฟชั่น ของตกแต่งบ้าน
จะแซ่บกันแค่ไหน?? จะเว่อกันแค่ไหน??
ไปเจอกัน 2-3 ต.ค. นี้ !!
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ kaninya@okmd.or.th หรือ โทร.085-676-6895 ค่ะ

สถาปัตย์จัดนิทรรศการผลงานนักศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขอเชิญผู้สนใจร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 2 โครงการ  คือ  โครงการออกแบบศูนย์การค้าใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Community Mall project)  และ  โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัย  ชุมชน มข. – โนนม่วง      ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 10  ไปจนถึงวันที่  14 กันยายน  2555 ณ บริเวณลานกิจกรรม  ศูนย์อาหารและบริการ (Complex) 

 

โดยในอังคารที่ 11  กันยายน  2555   รศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนโครงการทั้งสอง   อาจารย์ธันฐกรณ์ พงศ์พิมล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจัดการก่อสร้างและดูแลรักษา  อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ และนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ  

 

สำหรับนิทรรศการโครงการออกแบบ ศูนย์การค้าใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดจากดำริของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ในการที่จะจัดตั้งโครงการลักษณะที่เป็นพื้นที่การค้าและศูนย์รวมกิจกรรมหลากหลายของสถาบันในอนาคต  โดยมุ่งตอบสนองให้กับบุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอก  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต ญ จึงได้รับหลักการดังกล่าว เพื่อที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสถาบัน และเป็นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ   

ส่วนการ โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนรอบ มหาวิทยาลัย  ชุมชน มข. – โนนม่วง  เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการปฏิบัติการออกแบบเชิงทดลองเพื่อพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งรับนโยบายแก่ฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดูแลจะจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อให้ดำเนินโครงการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ซึ่งทางคณะจึงได้บรรจุกิจกรรมเข้ากับรายวิชาที่เปิดสอนถึง 4 วิชาด้วยกัน  คือ  803 407 หัวข้อเรื่องพิเศษทางสถาปัตยกรรม   804 406 ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดิน  804 416 การวางผังกายภาพ  และ804 426 การออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชน    โดยกำหนดให้มีมการปฏิบัติการออกแบบเชิงทดลอง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ ด้วยจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย     โดยการนำองค์ความรู้ในชั้นเรียน เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถาบัน  

จากการดำเนินการทั้งสองโครงการนี้ทางคณะคาดหวังว่า  ผลงานจากการเรียนจะเป็นจุดเริ่มในการเสนอแนวความคิดในการพัฒนาโครงการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้  โดยให้มีนักศึกษาใช้ความรู้ความสามารถในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาสถาบันอีกทางหนึ่งด้วย 

 

 

 

 

 

พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว

อรนพ เนียมไทยสงค์     ภาพ

สถาปัตย์จัดนิทรรศการผลงานนักศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขอเชิญผู้สนใจร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 2 โครงการ  คือ  โครงการออกแบบศูนย์การค้าใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Community Mall project)  และ  โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัย  ชุมชน มข. – โนนม่วง      ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 10  ไปจนถึงวันที่  14 กันยายน  2555 ณ บริเวณลานกิจกรรม  ศูนย์อาหารและบริการ (Complex) 

 

โดยในอังคารที่ 11  กันยายน  2555   รศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนโครงการทั้งสอง   อาจารย์ธันฐกรณ์ พงศ์พิมล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจัดการก่อสร้างและดูแลรักษา  อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ และนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ  

 

สำหรับนิทรรศการโครงการออกแบบ ศูนย์การค้าใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดจากดำริของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ในการที่จะจัดตั้งโครงการลักษณะที่เป็นพื้นที่การค้าและศูนย์รวมกิจกรรมหลากหลายของสถาบันในอนาคต  โดยมุ่งตอบสนองให้กับบุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอก  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต ญ จึงได้รับหลักการดังกล่าว เพื่อที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของสถาบัน และเป็นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ   
ส่วนการ โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนรอบ มหาวิทยาลัย  ชุมชน มข. – โนนม่วง  เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการปฏิบัติการออกแบบเชิงทดลองเพื่อพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งรับนโยบายแก่ฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดูแลจะจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อให้ดำเนินโครงการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ซึ่งทางคณะจึงได้บรรจุกิจกรรมเข้ากับรายวิชาที่เปิดสอนถึง 4 วิชาด้วยกัน  คือ  803 407 หัวข้อเรื่องพิเศษทางสถาปัตยกรรม   804 406 ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดิน  804 416 การวางผังกายภาพ  และ804 426 การออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชน    โดยกำหนดให้มีมการปฏิบัติการออกแบบเชิงทดลอง เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ ด้วยจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย     โดยการนำองค์ความรู้ในชั้นเรียน เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถาบัน  

 

จากการดำเนินการทั้งสองโครงการนี้ทางคณะคาดหวังว่า  ผลงานจากการเรียนจะเป็นจุดเริ่มในการเสนอแนวความคิดในการพัฒนาโครงการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้  โดยให้มีนักศึกษาใช้ความรู้ความสามารถในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาสถาบันอีกทางหนึ่งด้วย 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ ข่าว
อรนพ เนียมไทยสงค์     ภาพ

 

สถาปัตย์จัดบรรยายเชื่อมศิษย์เก่า-ใหม่ในหัวข้อ “วานพี่เล่าเรื่อง”

            ประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข. คือการพัฒนาทักษะและศักยภาพของนักศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์  การจัดบรรยายในเรื่องต่างๆที่มีความน่าสนใจในปัจจุบัน และมีความสำคัญในทางวิชาการหรือวิชาชีพรวมถึงศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา  การเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และความสามารถเฉพาะทางมาบรรยายที่คณะฯ จึงเป็นการเติมเต็มให้กับนักศึกษาในด้านประสบการณ์ การเปิดโลกทัศน์ใหม่หรือจุดประกายความคิดให้แก่นักศึกษาเพื่อนำไปสู่ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์เมื่อสำเร็จการศึกษา
             Architectural Lecture Series A 2012 เป็นชื่อของโครงการการบรรยายพิเศษที่มีการจัดต่อเนื่องมาถึง 8 ปี โดยในแต่ละปีนั้นก็ได้มีการกำหนดธีมต่าง ๆ สำหรับปีนี้ อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ  เจ้าของโครงการได้กำหนดธีมการบรรยายให้เป็นไปในลักษะของศิษย์เก่าเล่าเรื่องให้ศิษย์น้อง  โดยได้เชิงรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จและมีผลงานเป็นที่ยอมรับมาบรรยายให้รุ่นน้องได้รับฟังถึง 4 ครั้ง โดยครั้งแรกมีกำหนดจัดในวันที่ 10 สิงหาคม 2555  และมีกำหนดการบรรยายเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการบรรยายจากรุ่น 1 คุณสุทธิศักดิ์ เลิศไตรรัตน์ และคุณอิงอร ประจันนวล เจ้าของ “Idealist Studio” ผู้ออกแบบโรงแรม “ปิงนครา” ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่สมควรได้รับการเผยแพร่จากกรรมมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  และจะเดินทางมาพร้อมกับสมาชิกในบริษัท  นายนวพงษ์ คำภูมี  ศิษย์เก่ารุ่นที่ 20 ส่วนช่วงที่สองเป็นการบรรยายของคุณพลัท ไพนุพงศ์ Creative Director เจ้าของรางวัล the Luxury Guestroom/Suite Hospitality Design Award 2012
           อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐกล่าวว่า  “ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ Lecture Series 2012 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555 ปีนี้เรากำหนดธีมงานในหัวข้อ “วานพี่เล่าเรื่องฯ”  ซึ่งเราได้เชิญรุ่นพี่ศิษย์เก่าให้ได้กลับมาเล่าเรื่องผลงานการออกแบบ แนวทางการทำงาน ตลอดจนประสบการณ์การทำงานในสาขาต่างๆ ศิษย์เก่าแต่ละท่านได้รับรางวัลทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงที่กำลังเป็นที่จับตาในวงการด้วยค่ะ ”